Embryologist
นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อน คืออะไร?
หากคุณเคยได้ยินคําพูดที่ว่า Embryologist หรือ ” นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อน “ ที่เปรียบเสมือนเป็นพี่เลี้ยงคนแรกของลูกคุณ ซึ่งมีหน้าที่ ดูแลเลี้ยงดู ควบคุมคุณภาพตัวอ่อนมนุษย์ ที่อยู่นอกร่างกาย ตั้งแต่การเตรียมเสปิร์มจากฝ่ายชาย เก็บไข่จากฝ่ายหญิง และนำมาผสมเพื่อปฏิสนธิกัน จากนั้นดูแลการเจริญเติบโตของตัวอ่อนเพื่อให้พร้อมสำหรับการใส่กลับเพื่อฝังตัวในมดลูกคุณแม่นั่นเอง
ซึ่งในประเทศไทย เรามี สมาคมนักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนไทย (Association of Thai Embryologists; ATE)
เด็กหลอดแก้วคนแรกของโลก
วันที่ 25 กรกฎาคม 2521 นับเป็นวันถือกำเนิดของเด็กหลอดแก้วคนแรกของโลก โรงพยาบาล Royal Oldham Hospital เมืองโอลด์แฮม ประเทศอังกฤษ เป็นทารกเพศหญิง ชื่อ “หลุยส์ บราวน์” (Louise Joy Brown) ผู้ซึ่งเป็นบุตรของ นางเลสลีย์ บราวน์ (Lesley Brown) แม่ผู้ให้กำเนิด และนั่นเป็นประวัติศาสต์สำคัญที่ทำให้ศาสตราจารย์ เซอร์ โรเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด (Prof Sir Robert Edwards) ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาผู้ให้กำเนิดเด็กหลอดแก้ว ศาสตราจารย์ เซอร์ โรเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด ทำการทดลองวิจัยนี้จนสำเร็จโดยมีทีมงานร่วมคนสำคัญคือ ดร.แพทริค สเต็ปโต (Dr. Patrick Steptoe) ณ คลินิกบอร์นฮอล์ (bourn hall) มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
การทำงานของศาสตราจารย์โรเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด เป็นที่ยกย่องจนได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ และถือเป็นผู้วางรากฐานสำคัญด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ แต่ในขณะเดียวกันก็มีกลุ่มต่อต้ายซึ่งรวมกลุ่มและก่อตั้งกันในนาม “สมาคมการเจริญพันธุ์ของมนุษย์และคัพภวิทยาแห่งยุโรป” (European Society for Human Reproduction and Embryology)
และทุกๆวันที่ 25 กรกฎาคม ของทุกปี ได้มีการกำหนดให้เป็นวัน World Embryologist Day เพื่อเฉลิมฉลองให้แก่แพทย์ นักวิทยาศาสตร์และผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทั่วโลก ซึ่งมีการตกลงให้ใช้วันที่ตรงกับวันเกิดของ Louise Brown เด็กหลอดแก้วคนแรกของโลกที่ถือกำเนิดขึ้นมาในปี คศ. 1978 ณ วันที่ 25 กรกฎาคม
ซัลลี่ เชชเชียร์ ประธานองค์กรควบคุมดูแลผู้ปฏิบัติด้านตัวอ่อนมนุษย์และการเจริญพันธุ์แห่งชาติอังกฤษ (UK Human fertilization And Embryology Authority) กล่าวว่า ตั้งเเต่นั้นเป็นต้นมา มีเด็กหลายล้านคนที่เกิดมาบนโลกนี้ด้วยเทคโนโลยีเด็กหลอดแก้ว และผู้คนที่ไม่สามารถมีบุตรได้ตามธรรมชาติได้มีลูกสมใจอยาก
ณ วันที่ 25 กรกฎาคม 1978 หลุยส์ บราวน์ เด็กหลอดแก้วคนแรกของโลกได้กำเนิดขึ้น ถูกมองด้วยสายตาแห่งความสงส้ยและหวาดระแวง มีคนบางกลุ่มมองว่าเทคโนโลยีเด็กหลอดแก้วลดค่าความเป็นมนุษย์
ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ในกรุงลอนดอน มีงานนิทรรศการที่เรียกว่า “เทคโนโลยี IVF กับทารกอีก 6 ล้านคนต่อมา” (IVF : Six Million Babies Later) ได้นำข้าวของส่วนตัวของหลุยส์ บราวน์ ที่ทางพิพิธภัณฑ์ขอยืมมาจัดเเสดงในงานด้วย
คอนนี่ ออร์บาค ภัณฑารักษ์ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์กรุงลอนดอน กล่าวว่า ในนิทรรศการจัดเเสดงป้ายชื่อเด็กทารกเเละกำไลข้อมือหลายชิ้นที่ทารกหลุยส์เเละคุณแม่เลสลี่สวมหลังคลอดในโรงพยาบาล ซึ่งตนเองมองว่าสร้างความอ่อนไหวทางอารมณ์เเละเปี่ยมไปด้วยความรัก
บรรดานักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า เทคโนโลยีเด็กหลอดแก้วที่ช่วยให้ทารกหลุยส์เกิดมาบนโลกนี้ได้เมื่อ 40 กว่าปีที่แล้ว จะช่วยให้มีทารกคนใหม่ลืมตาดูโลกอีกราว 400 ล้านคน ภายในปลายคริสต์ศตวรรษนี้
(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)
44 ปีต่อมา หลุยส์ บราวน์ เด็กหลอดแก้วคนแรกของโลก เธอแต่งงานและมีลูกชาย 1 คน ลูกของเธอเกิดมาจากการตั้งครรภ์เองตามธรรมชาติ ไม่ได้ผ่านขั้นตอนของเด็กหลอดแก้ว จากผลงานนี้ เซอร์โรเบิร์ต เอ็ดเวิร์ดส์ แพทย์ด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ได้มีส่วนร่วมในความสำเร็จครั้งนี้ และได้รับรางวัลโนเบลในปี 2010 อีกด้วย
.
ในปัจจุบันมีเด็กประมาณ 5.5 ล้านคนทั่วโลก ที่เกิดมาจากการทำเด็กหลอดแก้ว เทคโนโลยีด้านนี้ ผ่านการพัฒนาค้นคว้าต่อเนื่องมายาวนาน เพื่อช่วยสานฝันครอบครัวทั่วโลกให้เป็นจริง ดังนั้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ นักวิทยาศาสตร์ แพทย์ และผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ จึงได้กำหนดให้วันที่ 25 กรกฎาคมของทุกปีเป็น World Embryologist Day
หลายคนเข้าใจผิดว่าเด็กหลอดแก้วก็คือการผสมเทียม ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ใช่ เด็กหลอดแก้วแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับการผสมเทียม เพราะการผสมเทียม (Articial Insemination) หมายถึง การฉีด “เชื้ออสุจิ” เข้าไปในช่องคลอดหรือมดลูก โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ช่วยเหลือ จะมีการปฏิสนธิหรือไม่ ยังไม่ทราบ และหากมีการปฏิสนธิเกิดขึ้น ก็เป็นการปฏิสนธิภายในร่างกาย ในขณะที่การทำเด็กหลอดก้วทำขึ้นเพื่อให้การปฏิสนธิภายนอกโดยการนำเอา “ไข่” ของสตรีออกมาภายนอกร่างกายแล้วมาผสมกับ “เชื้ออสุจิ” ในหลอดแก้วทดลอง เพื่อให้มี บรรยากาศภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การเกิดขึ้นและดำรงชีวิตของ “ตัวอ่อน” ได้
ขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้วมีขั้นตอนสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 “การกระตุ้นไข่” จากการใช้ยาหรือฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้ากระตุ้น เพื่อให้ได้ไข่จำนวนมาก ๆ
ขั้นตอนที่ 2 “การเก็บไข่” โดยส่วนใหญ่เจาะเก็บไข่ผ่านทางช่องคลอดเก็บไข่ของสตรี โดยใช้เข็มยาวที่สร้างขึ้นมาโดยเฉพาะ
ขั้นตอนที่ 3 การเตรียม “เชื้ออสุจิ” ซึ่งต้องเป็นการ “คัดเชื้อ” เพื่อให้ได้ตัว “เชื้ออสุจิ” ที่มีคุณสมบัติดี แข็งแรง ขนาดความเข้มข้นประมาณ 100,000 ตัวต่อไข่ 1 ใบ โดยวิธีการเก็บเชื้ออสุจิที่ดีที่สุดคือการให้ฝ่ายชาดหลังสารคัดหลังหรืออสุจิด้วยวิธี ช่วยตัวเอง (masturbation) จะได้ผลดีที่สุด
ขั้นตอนที่ 4 การเลี้ยง “ตัวอ่อน” ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด ไข่ที่เก็บมาแล้วต้องอยู่ในอุณหภูมิที่เหมาสมคือ 37 องศาเซลเซียส โดยเลี้ยงในหลอดแก้วประมาณ 3-6 ชั่วโมง หลังจากนั้นจึงทำการใส่ “เชื้ออสุจิ” เพื่อรอการปฏิสนธิ ในช่วงเวลาประมาณ 18 ชั่วโมง ซึ่งอาจจะสำเร็วในครั้งแรก หรืออาจต้องใส่เชื้ออสุจิอีกเป็นครั้งที่สอง ถ้าไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น อาจเกิดจากมีตัวอ่อนที่ผิดปกติ ก็ตัดคัดตัวอ่อนที่ผิดปกติออกไป เหลือไว้ แต่ “ตัวอ่อน” ที่ปกติเท่านั้น ในช่วงสองวันหากมีการปฏิสนธิเกิดขึ้น “ตัวอ่อน” แต่ละตัวอยู่ระหว่าง 2-8 เซลล์ “ตัวอ่อน” แต่ละตัวจะมีความสมบูรณ์ไม่เท่ากัน เราจัดลำดับความสมบูรณ์ของตัวอ่อน ออกเป็นเกรดต่าง ๆ ซึ่งเราต้องคัดเลือกตัวอ่อนเกรดดีที่สุดไว้ และเกรดรองสำรองเอาไว้
ขั้นตอนที่ 5 การนำ “ตัวอ่อน” กลับเข้าสู่ร่างกาย เราสามารถนำ “ตัวอ่อน” กลับเข้าสู่ร่างกายได้ 2 ทาง คือ ทางปากมดลูก หรือทางปีกมดลูก
ขั้นตอนที่ 6 การแช่แข็ง “ตัวอ่อน” ตัวอ่อนของมนุษย์ที่เหลือจากการใส่กลับเข้าสู่ร่างกายเรา จะนำมา แช่แข็งที่อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส “ตัวอ่อน” จะหยุดการเจริญเติบโต แต่ยังมีชีวิตอยู่ต่อไปได้นานเป็นปีทีเดียว เมื่อไรจำเป็นต้อง ใช้ก็เพียงแต่ละลายกลับมาสู่อุณหภูมิปกติอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ยังมีความเข้าใจผิดว่า การทำ “เด็กหลอดแก้ว” กับการทำ “กิ๊ฟ” เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่เหมือนกัน เพราะการทำ “เด็กหลอดแก้ว” เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดการปฏิสนธิภายนอกร่างกายในหลอดแก้วทดลอง จากนั้นจึง นำกลับเข้าสู่ร่างกายแต่การทำ “กิ๊ฟ” เป็นกระบวนการนำเอา “เชื้ออสุจิ” และ “ไข่” เข้าไปใส่ไว้ในปีกมดลูก เพื่อให้มีการปฏิสนธิภายในร่างกาย
ความสำเร็จในช่วยให้สามีภรรยาหลายคู่ได้พบกับความสำเร็จในการที่จะมีบุตร ซึ่งอาจต้องใช้เวลา ใช้ความอดทน และค่าใช้ใช้ที่มีราค่าสูง ซึ่งในในปัจจุบันก็มีสถานบริการที่ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินงานด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ในสถานพยาบาลทั่วไปอยู่มากมายหลายที่ด้วยกัน
ซึ่ง Deep & Harmonicare IVF Center ก็เป็นหนึ่งใน ศูนย์ให้บริการรักษา ภาวะผู้มีบุตรยาก ด้วยมาตรฐาน JCI และเครื่องมือที่ทันสมัยระดับสากล กับ%ความสำเร็จที่มากขึ้น พร้อมให้บริการ และ คำปรึกษา ทักมาหาเราได้เลยค่ะ
Cr.
I am Embryologist
เว็บไซต์ของสมาคม นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อน ไทย (Association of Thai Embryologists; ATE)
www.scimath.org/lesson-biology
. . .
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ ดังนี้
สนใจติดต่อ : Deep & Harmonicare IVF Center ศูนย์ปรึกษาการตั้งครรภ์ และ รักษาภาวะมีบุตรยาก
สอบถามการรักษามีลูกยาก : LINE : @dhcivf.th
ติดตามข่าวความรู้เรื่องรักษามีบุตรยาก ได้ที่
FACEBOOK : Deep & Harmonicare IVF Center
ติดต่อเรา : 093-7891313