- Home
- ICSI
เด็กหลอกแก้ว และการผสมเทียมด้วยการทำอิ๊กซี่ (ICSI)

การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) และวิธี อิ๊คซี่ (ICSI)
ความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) และวิธี อิ๊คซี่ (ICSI) คือวิธีการที่ตัวอสุจิจะเข้าไปปฏิสนธิกับไข่
สำหรับ IVF นั้นเซลล์ไข่และตัวอสุจิ ถูกนำไปวางผสมกันในจานเพาะเลี้ยง โดยปล่อยให้ตัวอสุจิว่ายเข้ามาผสมกับเซลล์ไข่เองตามธรรมชาติ อสุจิที่แข็งแรงที่สุดเท่านั้นจึงจะสามารถทำการปฏิสนธิกับไข่ได้
สำหรับ ICSI จะคัดเชื้ออสุจิที่แข็งแรงสมบูรณ์เพียงตัวเดียว และใช้เข็มแก้วขนาดเล็ก เจาะเปลือกไข่ ฉีดตัวเชื้อเข้าไปในเซลล์ของไข่โดยตรง ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ วิธี ICSI สามารถเพิ่มอัตราการปฏิสนธิให้ผลที่ดีมาก และช่วยลดปัญหาการปฏิสนธิที่ผิดปกติ เช่น การปฏิสนธิจากอสุจิหลายตัวและอสุจิไม่สามารถเจาะเปลือกไข่ ได้เอง เป็นต้น
ข้อบ่งชี้ในการทำ ICSI
- ฝ่ายชายที่มีปริมาณอสุจิน้อยกว่าปกติ ไม่เพียงพอทีจะทำ IUI หรือ IVF
- ฝ่ายชายที่มีปัญหาอสุจิเคลื่อนไหวน้อยกว่าปกติ
- ฝ่ายชายที่มีอสุจิมีรูปร่างผิดปกติ < 4 %
- ฝ่ายชายที่มีปัญหาอสุจิไม่สามารถเจาะเปลือกไข่เพื่อให้เกิดการปฎิสนธิได้
- ในรายที่ต้องเก็บอสุจิจากการผ่าตัด (Surgical sperm retrieved) เช่นคนไข้ชายที่เคยทำหมันมาก่อน
- ในรายที่ฝ่ายหญิงแช่แข็งไข่ไว้
- คู่สมรสที่ต้องการตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมด้วยวิธี NGS
ประโยชน์ของการทำ ICSI
- ช่วยเพิ่มอัตราการปฏิสนธิ 70-85 % ทำให้ได้ตัวอ่อนมากขึ้น
- ช่วยเพิ่มโอกาสให้เกิดการตั้งครรภ์สูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก ฝ่ายหญิงอายุเฉลี่ยที่ 35 ปีขึ้นไป
- ในกรณีที่ทำ ICSI และมีการผสมกันแล้วได้ตัวอ่อนหลายตัว มีตัวอ่อนเหลือสามารถเก็บแช่แช็งไว้ทำครั้งต่อไปได้ โดยไม่ต้องกลับมาเริ่มขั้นตอนกระตุ้นไข่เก็บไข่ใหม่ หากคนไข้พร้อมมีลูกคนต่อไปเมื่อไหร่สามารถกลับมาทำได้เรื่อยๆ
- เป็นวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยาก ที่มีโอกาสตั้งครรภ์สำเร็จสูงที่สุด เมื่อเทียบกับวิธีการรักษาอื่นๆ
ขั้นตอนในการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF/ICSI)
วันที่ 1-3 ของรอบประจำเดือน แพทย์จะทำอัลตราซาวน์ดูจำนวนฟองไข่ตั้งต้น และเจาะเลือดฮอร์โมน จากนั้นจะให้ยาฉีดการกระตุ้นไข่ ประมาณ 8-12 วัน เพื่อให้ได้เซลล์ไข่จำนวนหลายใบซึ่งมีคุณภาพที่ดีแล้ว เมื่อฟองไข่มีขนาดที่เหมาะสมแพทย์จะทำการเจาะเก็บไข่ออกมา จากนั้นผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะเลี้ยงตัวอ่อน จะนำไข่เหล่านั้นมาผสมกับอสุจิที่ผ่านการเตรียมและคัดแยกเฉพาะอสุจิที่สมบูรณ์ โดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์อสุจิ จากนั้นนำมาเก็บไว้ใน ตู้สำหรับเลี้ยงตัวอ่อนเพื่อปล่อยให้อสุจิได้ทำการปฏิสนธิกับไข่และทำการตรวจผลการปฏิสนธิหลังจากนั้นประมาณ 16-18 ชั่วโมง และเลี้ยงตัวอ่อนเหล่านั้นไปประมาณ 5-6 วัน
การย้ายตัวอ่อน (Embryo Transfer)
การย้ายตัวอ่อน (ET) ใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูก จะทำหลังจากเก็บเซลล์ไข่และปฏิสนธิกับอสุจิ แล้ว ซึ่งจะสามารถย้ายได้ตั้งแต่ตัวอ่อนระยะวันที่ 3 ถึงวันที่ 5 ซึ่งแบ่งเป็นการย้ายตัวอ่อนรอบสด (Fresh ET) และรอบแช่แข็งได้ (Frozen-thawed ET) โดยการย้ายตัวอ่อนแต่ละแบบ นั้นขึ้นอยู่กับข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ในแต่ละราย
การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF/ICSI) เหมาะสำหรับ
- ฝ่ายหญิงมีความผิดปกติของท่อนำไข่ที่ตีบหรือตันทั้งสองข้าง
- ฝ่ายหญิงมีภาวะตกไข่ผิดปกติ (PCOS)
- ฝ่ายหญิงมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
- คู่สมรสที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม
- ฝ่ายชายมีปัญหาเชื้ออสุจิมีจำนวนน้อยหรือคุณภาพไม่ดี
- ภาวะมีบุตรยากที่ไม่ทราบสาเหตุ
อัตราการตั้งครรภ์ จากวิธีการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF/ICSI)
โดยทั่วไปแล้วอัตราความสำเร็จของวิธีการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF/ICSI) จะค่อนข้างสูง อยู่ที่ 50-70% โดยอัตราการประสบความสำเร็จ จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่
- อายุของฝ่ายหญิง
- คุณภาพของเซลล์ไข่และอสุจิ
- คุณภาพของตัวอ่อน และความผิดปกติของโครโมโซมของตัวอ่อน
- ความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกในวันที่ใส่ตัวอ่อน
- ความผิดปกติของมดลูก และเยื่อบุโพรงมดลูก
ข้อดีของการทำ ICSI
- เป็นวิธีที่มีโอกาสสำเร็จมากที่สุดในปัจจุบัน
- สามารถรักษาหลากหายปัญหามีบุตรยาก
- ผู้หญิงทำหมันแล้วก็ทำได้
- ผู้ชายที่มีอสุจิต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานสามารถทำ IVF ได้
- สามารถตรวจโครโมโซมตัวอ่อนได้
ข้อเสียของการทำ ICSI
- มีราคาสูงกว่า IUI
- มีขั้นตอนที่ซับซ้อนกว่า
- ใช้เวลาหลายวัน
- ในบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนจากการเก็บไข่ เช่น ภาวะฟองไข่ถูกกระต้นมากเกินไป
Testimonial ICSI
Success Case



FAQ
A: เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหามีบุตรยาก แต่งงานมาหลายปี ลองรักษาด้วยวิธีอื่น เช่น IUI มาแล้วหลายครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ หรือ คู่สามีภรรยาที่มีอายุมากกว่า 35 ปี หรือ ผู้ชายที่เป็นหมัน น้ำเชื้อน้อย สเปิร์มไม่แข็งแรง หรือ ผู้หญิงที่มีปัญหาที่มดลูก ตัดปีกมดลูก ท่อนำไข่ตีบ ตัน คนที่มีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น คนที่มีกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ (PCOS) หรือ มีถุงน้ำรังไข่ เป็นต้น
A: โดยปกติแล้วการย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็งจะมีโอกาสสำเร็จมากกว่าการย้ายตัวอ่อนรอบสดเนื่องจาก ผนังมดลูกจะพร้อมรับตัวอ่อนได้มากกว่า และผู้ป่วยได้มีเวลาในการเตรียมความพร้อมของมดลูกให้พร้อมก่อนการย้ายตัวอ่อน
A: ไม่ส่งผลเนื่องจากเซลล์ที่ดึงไปตรวจเป็นเซลล์ที่จะเจริญเติบโตไปเป็นรกไม่ใช่ส่วนเซลล์ที่เจริญเติบโตไปเป็นตัวเด็ก
A: การเลี้ยงตัวอ่อนภายนอกมดลูกเป็นเวลา 5 (เป็นตัวอ่อนระยะ Blastocyst) เพื่อเป็นการคัดกรองตัวอ่อนที่สามารถเจริญเติบโตและแบ่งเซลล์ตามวัยได้ตามธรรมชาติ และเพื่อที่จะสามารถเลือกตัวอ่อนที่โตตามเกณฑ์และมีคุณภาพดีใส่กลับเข้าสู่โพรงมดลูก สาเหตุที่ไม่เลี้ยงตัวอ่อนนานกว่า 5 วัน (6 วันเป็นอย่างมาก) เนื่องจากหลังจากวันที่ 5-6 ตามธรรมชาติตัวอ่อนจะเริ่มฝังตัวที่ผนังมดลูกแล้ว
A: โดยทั่วไป การทำเด็กหลอดแก้วมักเป็นเป็นวิธีสำหรับผู้ที่ใช้วิธีอื่นๆแล้วไม่ได้ผล อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีเงื่อนไขทางสุขภาพที่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อาจใช้วิธี ICSI ทั้งนี้ จะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินสภาพร่างกายและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม
A: เพื่อผลการรักษาที่ดีที่สุด ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพก่อนเริ่มกระบวนการ เช่นการตรวจเลือดเพื่อคัดกรองโรคที่ส่งต่อไปสู่ลูก การตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิ และอัลตราซาวน์เพื่อประเมินระบบสืบพันธุ์ในฝ่ายหญิง
A: ค่าใช้จ่ายในการทำเด็กหลอดแก้วของแต่ละท่านไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปริมาณและยาที่ใช้ในการกระตุ้นรังไข่ การเลี้ยงตัวอ่อน ค่าห้องผ่าตัดที่ใช้เพื่อเก็บไข่และย้ายตัวอ่อนและการตรวจเลือดหรือตรวจอัลตร้าซาวน์เพื่อติดตามในระยะต่างๆ การทำเด็กหลอดแก้ว 1 รอบ อาจมีราคาประมาณ 200,000-350,000 บาท
A: จากการศึกษาวิจัยในต่างประเทศพบว่าเด็กที่เกิดจากวิธีช่วยเจริญพันธุ์ไม่มีความแตกต่างจากเด็กที่เกิดโดยวิธีธรรมชาติ