ในทางการแพทย์ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 35 ปีถือว่าเป็นอายุที่ค่อนข้างสูง หรือนิยามว่า “สตรีอายุมาก” (Advanced maternal age) โดยอ้างอิงจากอายุที่มีความเสี่ยงในการเกิดทารกมีภาวะดาวน์ซินโดรมและความผิดปกติของจำนวนชุดโครโมโซมที่มากขึ้น (aneuploidy) ในรายงานของ National center for health statistics ก็ใช้คำว่า older women และใช้กำหนดอายุ 35 ปีขึ้นไปเช่นกัน สำหรับการมีบุตร โดยทั่วไปแล้วเมื่อผู้หญิงอายุเกินเกณฑ์ 35 ปี นั้นการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ อัตราความสำเร็จจะต่ำกว่าผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 35 ปีมาก
แต่ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าสังคมไทยมีค่านิยมในการแต่งงาน และเริ่มมีครอบครัวในช่วงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้หลายคนที่กำลังวางแผนในการมีบุตร กังวลว่าการตั้งครรภ์ขณะอายุมาก อาจส่งผลต่อสุขภาพครรภ์ และต่อบุตรในท้องได้ แต่การมีลูกช้า หรือเพิ่งเริ่มการเป็นคุณแม่ในวัยนี้ ใช่ว่าจะมีแต่เรื่องน่ากังวลเสมอไป เพราะถ้าได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างเหมาะสมจนมีความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงต่างๆ การวางแผนและเคล็ดลับบำรุงสุขภาพครรภ์ให้แข็งแรง ก็จะช่วยเพิ่มความพร้อมในการเป็นคุณแม่ให้สมบูรณ์ ทั้งทางกาย ใจ และวัยวุฒิ ได้อย่างแน่นอน
อายุที่ดีที่สุดสำหรับการมีบุตรของผู้หญิงคือ 25-32 ปี เพราะเมื่ออายุมากกว่า 35 ปี จำนวนและคุณภาพของไข่จะลดลง ดังกราฟ
คำจำกัดความของ ภาวะมีบุตรยาก ในทางการแพทย์คือ การที่คู่สมรสไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ โดยที่มีเพศสัมพันธุ์อย่างสม่ำเสมอ โดยมีความถี่ 2-3 ครั้ง / สัปดาห์ และไม่ได้คุมกำเนิดมาเป็นระยะเวลา นานเกิน 1 ปี หรือ หรือระยะเวลา นานเกิน 6 เดือนในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหญิงที่มีอายุเกิน 35 ปีขึ้นไป และ ฝ่ายชายมีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
แล้วต้องทำอย่างไรหากต้องการวางแผนการตั้งครรภ์ ?
ในกรณีที่ฝ่ายหญิงมีอายุมากกว่า 35 ปีและ ปล่อยให้มีบุตรเองตามธรรมชาติมาเป็นเวลา นานมากกว่า 1 ปี เราขอแนะนำ ให้ทั้งสองฝ่ายไปรับการตรวจหาสาเหตุภาวะผู้มีบุตรยาก โดยฝ่ายหญิง แนะนำให้ไปตรวจฮอร์โมนการทำงานของรังไข่ AMH, อัลตราซาวน์ทางช่องคลอดเพื่อดูฟองไข่ตั้งต้น ซึ่งจะช่วยคาดการณ์จำนวนและคุณภาพของไข่ได้ ว่าส่งผลต่อการตั้งครรภ์หรือไม่ ส่วนในผู้ชายแนะนำให้ไป ตรวจวิเคราะห์คุณภาพของน้ำอสุจิ (Semen analysis) อื่นๆได้แก่ การตรวจพาหะโรคธาลัสซีเมีย การตรวจโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ และการตรวจโครโมโซมของคู่สมรส หากมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มีโรคทางพันธุกรรม เป็นต้น
การตรวจฮอร์โมนอื่นๆ ในฝ่ายหญิง ได้แก่
Basal FSH. FSH (follicle stimulating hormone) : FSH เป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นการเติบโตของฟองไข่ ถ้าฮอร์โมน FSH สูงกว่าปกติ อาจบ่งบอกว่ารังไข่คุณภาพไม่ค่อยดี มีฟองไข่ค่อนข้างน้อย หรือมีภาวะรังไข่เสื่อมก่อนวัย หรือ มีรังไข่ตอบสนองต่อยากระตุ้นไข่ได้น้อยกว่าปกติ
Estradiol : เป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่สร้างมาจากรังไข่ ช่วยบ่งบอกถึงการทำงานของรังไข่
Anti-mullerian hormone (AMH) :เป็นฮอร์โมนที่บ่งบอกการทำงานของรังไข่ ใช้ในการดูว่ามีไข่หลงเหลืออยู่มากน้อยแค่ไหน ถ้า AMH น้อยลงบ่งบอกว่าไข่เหลือจำนวนน้อยลงมาก
แต่อย่างไรก็ดี การตรวจทางห้องแล็บเป็นเพียงส่วนหนึ่ง เพราะปัจจัยทางจิตวิทยาก็มีความสำคัญเช่นกัน ก่อนอื่นอย่ากดดันตัวเองมากเกินไป ควรใส่ใจเรื่องการทำงาน การพักผ่อน การควบคุมอารมณ์และเสริมสร้างการออกกำลังกาย ให้สม่ำเสมอด้วยค่ะ
การเตรียมความพร้อมเพื่อที่จะมีบุตร
ผู้ชายควรทานอาหารที่มี แร่ธาตุสังกะสี ให้มากขึ้น เช่น ไข่ เนื้อไก่ อาหารทะเล เมล็ดธัญพืช เป็นต้น
ผู้หญิงควรทานอาหารที่มี เอสโตรเจนจากธรรมชาติ เช่นถั่วเหลือง ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ถั่วดำ และ ไข่ เป็นต้น
แต่ปัจุบันมีอาหารเสริมที่สามารถช่วยบำรุงร่างกายได้ครบถ้วนและตรงจุดมากยิ่งขึ้น และไม่ต้องทานหลายขั่นตอน ทาง Deep & Harmonicare IVF Center ของเรามีจำหน่าย สามารถสอบถามได้ค่ะ
ต่อไปจะเป็นขั้นตอนการปฎิบัติตัว เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์
1. คำนวณเวลาตกไข่ สามารถช่วยให้คุณทราบว่าช่วงเวลาใดเป็นช่วงที่มีการเจริญพันธุ์และคุณยังสามารถทราบได้ว่ามีปัญหาการตกไข่ผิดปกติหรือไม่ เพื่อพร้อมที่จะแก้ไข รับมือได้ทันค่ะ
2. นอนให้ได้ 8 ชั่วโมงต่อวันและนอนให้เพียงพอทุกวัน มิฉะนั้นระบบภูมิคุ้มกันจะได้รับผลกระทบการหลั่งฮอร์โมนจะหยุดชะงัก และจะมีอันตรายแอบแฝงจากการอักเสบซึ่งไม่เอื้อต่อการตั้งครรภ์ได้
3. ลดความกดดันจากการทำงานให้เหมาะสม และปล่อยให้ตัวเองมีอารมณ์ที่ผ่อนคลายมากขึ้น ลองฝึกโยคะเพื่อผ่อนคลาย หรือออกกำลังกาย แต่หากการตั้งครรภ์ยังไม่สำเร็จเป็นเวลา มากกว่า6เดือน คุณควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
4. ควบคุมน้ำหนัก ที่จะส่งผลต่อความดันโลหิต ผู้หญิงหลายคนจะเริ่มมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นหลังจากอายุ 35 ปี ความอ้วนจะลดภาวะเจริญพันธุ์และยังอาจทำให้เกิดโรคเบาหวานหลังตั้งครรภ์อีกด้วย โรคเบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์อาจทำให้ทารกในครรภ์มีขนาดใหญ่เกินไปและมีปัญหาต่อการหายใจในทารกแรกเกิดตามมา
5. ปรับสมดุลของฮอร์โมน เพราะถ้าฮอร์โมนไม่ดี ไม่เพียงแค่ลดภาวะเจริญพันธุ์ แต่ยังเพิ่มโอกาสในการแท้งบุตรหลังตั้งครรภ์อีกด้วย ควรดูแลเรื่องฮอร์โมนก่อนตั้งครรภ์ ในส่วนนี้ควรได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่ะ
6. ทานอาหารที่มีประโยชน์ ทานผักผลไม้สดให้มาก ๆ เลิกสูบบุหรี่และเลิกดื่มแอลกอฮอร์เพื่อลูกน้อย สิ่งเหล่านี้อาจทำให้ไข่และอสุจิผิดปกติ ลดการเจริญพันธุ์และส่งผลต่อพัฒนาการของตัวอ่อนได้เลยค่ะ
ข้างต้นที่กล่าวมานี้ เราต้องเปลี่ยนเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ อย่างน้อย 3-4 เดือน จึงจะสามารถเพิ่มคุณภาพให้ไข่ของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ อดทนและตั้งใจเพื่อได้พบกับลูกน้อยที่สุขภาพแข็งแรงของเรากันนะคะ
สำหรับผู้หญิงที่เริ่มมีภาวะเจริญพันธุ์ลดลงเมื่ออายุ 30 ปีการตั้งครรภ์ที่ 35 ถือเป็นการทดสอบร่างกายที่ครอบคลุมอย่างไม่ต้องสงสัยดังนั้นผู้หญิงในเวลานี้จำเป็นต้องผ่อนคลายอารมณ์คลายความกดดันต่างๆปรับสภาพร่างกายและจิตใจ และเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ในสภาพที่ดีที่สุด ในขณะเดียวกันเราต้องร่วมมือกับแพทย์ในการตรวจครรภ์ในระยะต่างๆของการตั้งครรภ์ หลังจากอายุ 35 ปีการทำงานของรังไข่เริ่มลดลงไข่มีอายุมากขึ้นเยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบในอุ้งเชิงกรานและโรคอื่น ๆ มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้มากขึ้นสิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุของ ภาวะมีบุตรยาก
สำหรับคู่รักที่อายุมากกว่า 35 ปี หรือ มีคู่คนใดคนหนึ่งที่อายุ 35 ปีขึ้นไป ที่ลองพยายามปฎิบัติตามข้างต้นที่กล่าวมา และพยายามมีบุตรตามธรรมชาติแต่ก็ยังไม่สำเร็จ ก็ไม่ต้องเสียใจไปค่ะ เพราะตอนนี้มีเทคโนโลยีที่มาแก้ไขปัญหาเรื่องนี้โดยเฉพาะหากคุณต้องการตั้งครรภ์เพื่อให้ได้ประสิทธภาพมากที่สุด อยู่ในการดูแลของแพทย์ที่ดีที่สุด และมีเครื่องมือที่ดีสุดในตอนนี้ เราขอแนะนำ การผสมเทียม (IUI-intrauterine insemination) โดยการฉีดน้ำเชื้อของสามีในวันที่ไข่ตก และวิธีเด็กหลอดแก้ว (IN VITRO FERTILISATION – IVF) และ อิ๊กซี่ (Intracytoplasmic Sperm Injection – ICSI) ได้ค่ะ โดยเฉพาะที่ Deep & Harmonicare IVF Center ของเรา เป็นคลินิกเฉพาะทางให้บริการรักษาภาวะมีบุตรยาก โดยเฉพาะ เป็นศูนย์เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ที่เป็นตึกเดี่ยว มีห้องแล็บที่สร้างตามมาตราฐาน หนึ่งในไม่กี่สถาบันช่วยเหลือด้านการเจริญพันธุ์ที่ได้รับการรับรองจาก Joint Commission International (JCI) เรามีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การบริการคู่สมรสที่มีบุตรยากแบบครบวงจร และคุณภาพในการให้บริการระดับสูงสุด โดยมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลให้คำแนะนำตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในห้องปฏิบัติการเรามีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทยเพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จ
ขอแนะนำให้ตรวจร่างกายก่อนแต่งงานและเตรียมการตั้งครรภ์และตรวจอีกครั้งสำหรับผู้ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์มานานกว่าหนึ่งปีหลังจากการเตรียมการตั้งครรภ์ตามปกติ เสริมสร้างการปรับสภาพร่างกายสำหรับผู้ที่มีความสามารถในการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติและสำหรับผู้ที่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ ให้พิจารณา วิธีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ได้แก่ การผสมเทียม หรือ วิธีเด็กหลอดแก้ว โดยเร็วที่สุด ยิ่งคุณมีอายุมากขึ้นเท่าไร ข้อจำกัด ก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น อย่าเพิ่งหมดกำลังใจที่จะตั้งครรภ์ เพราะถ้าเรามีการดูแลเตรียมตัวเอง วางแผนอย่างดีตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ และปฏิบัติตัวถูกต้องเหมาะสมตลอดการตั้งครรภ์ และได้รับการดูแลจากแพทย์ พยาบาล ที่มีความรู้ และมีคุณภาพแล้วนั้น ความสำเร็จก็อยู่ไม่ไกล มาคอยพบกับลูกน้อยที่น่ารักของเรากันนะคะ
สนใจติดต่อ : Deep & Harmonicare IVF Center ศูนย์ปรึกษาการตั้งครรภ์ และ รักษาภาวะมีบุตรยาก
สอบถามการรักษามีลูกยาก : LINE : @dhcivf.th
ติดตามข่าวความรู้เรื่องรักษามีบุตรยาก ได้ที่ : fb.me/DeepHarmoniCareIVF
ติดต่อเรา : 093-7891313