การทำลูกแฝด ลูกแฝดเกิดจากอะไร?
ปัจจุบันนี้คุณแม่มีโอกาสตั้งครรภ์ลูกแฝดได้ง่ายขึ้น เพราะมีเทคโนโลยีทางการแพทย์สำหรับผู้มีบุตรยากโดยการทำ ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection) ทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์และประสบความสำเร็จที่สูงกว่า โดยปกติแพทย์จะใส่ตัวอ่อนสองตัวขึ้นไปเพื่อเพิ่มโอกาสสำเร็จ ทำให้คุณแม่มีโอกาสตั้งครรภ์แฝดมากขึ้นอีกด้วย
โดยปกติแล้วการท้องลูกแฝดถือเป็นภาวะการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ มีความเสี่ยงสูงในการคลอดก่อนกำหนด แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้ทารกแฝดมีโอกาสรอดมากขึ้น คุณแม่อายุเกิน 35 ปีมักมีโอกาสตั้งท้องลูกแฝดมากกว่าคุณแม่อายุน้อย เนื่องจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มขึ้นทำให้ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายผลิตไข่หลายใบ รวมถึงฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) ที่จะไปกระตุ้นการตกไข่และเพิ่มโอกาสการตั้งท้องแฝดมากขึ้น
ในกรณีที่คุณแม่เคยคลอดลูกมาแล้วหลายครั้ง จะมีโอกาสตั้งครรภ์แฝดมากขึ้น และหากคนในครอบครัวมีประวัติตั้งครรภ์แฝด โอกาสที่คุณแม่จะคลอดลูกแฝดก็มากขึ้นด้วย เป็นการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากทางฝั่งแม่ และเป็นการตั้งครรภ์แฝดจากไข่คนละใบ
คุณแม่ที่อยากมีลูกแฝดควรปรึกษาแพทย์ว่ามีทางไหนบ้างทำให้ท้องลูกแฝดได้ โดยทั่วไปจะกินยากระตุ้นไข่เพื่อทำให้มีไข่ตกมากกว่า 1 ใบ ทำให้มีโอกาสเกิดการตั้งครรภ์แฝดมากขึ้น
การตั้งครรภ์แฝดจะแบ่งเป็น 2 กรณี ได้แก่
แฝดแท้
- เกิดจากการปฏิสนธิของไข่ใบเดียวและอสุจิตัวเดียวที่แยกตัวเป็นสองส่วน จึงมีหน้าตารูปร่างเหมือนกันจนแยกไม่ออก ซึ่งแฝดแท้จะมีรูปร่างหน้าตาและลักษณะที่คล้ายกันมาก และมักจะเป็นเพศเดียวกัน เช่น แฝดชาย-ชาย หรือ แฝดหญิง-หญิง
แฝดเทียม
- เกิดจากการที่มีไข่ตกมากกว่า 1 ใบ และไข่แต่ละใบนั้นก็ได้รับการปฏิสนธิและฝังตัวอ่อนในมดลูกพร้อม ๆ กัน โดยปกติแล้วแฝดเทียมจะมีความคล้ายแบบพี่น้องที่เกิดตามกันมาซึ่งแฝดเทียมอาจมีเพศเดียวกันหรือต่างกันก็ได้
ข้อดีของการตั้งครรภ์แฝด
จริง ๆ แล้วในธรรมชาติของมดลูกของคุณแม่ จะเหมาะสมในการตั้งครรภ์เดี่ยวมากกว่า การตั้งครรภ์แฝดอาจจะทำให้เกิดการแท้ง และเกิดการคลอดก่อนกำหนด ครรภ์เป็นพิษ หรือเบาหวานในช่วงตั้งครรภ์ได้มากกว่าครรภ์เดี่ยว แต่บางคนอาจจะคิดว่าการตั้งครรภ์ครั้งเดียวได้ 2-3 คน ก็อาจจะประหยัดเวลามากกว่าการตั้งครรภ์ 2-3 ครั้ง แพทย์ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ตั้งครรภ์เดี่ยวมากกว่า แต่การที่ใส่ตัวอ่อน 2 ตัว อาจจะเป็นการทำเพื่อให้โอกาสการตั้งครรภ์ต่อการย้ายตัวอ่อน 1 ครั้ง มีมากกว่าการใส่ตัวอ่อนครั้งละ 1 ตัว
ดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์แฝด
- คุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝดจะต้องพักผ่อนให้เพียงพอ และดูแลสุขภาพมากกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ทั่วไป ไม่ควรกังวลหรือวิตกมากเกินไป เพื่อให้แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ และระหว่างที่ตั้งครรภ์ห้ามทำงานหนัก เพราะอาจเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดได้ และถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น ปวดศีรษะ ,บวมมาก, แน่นท้อง ควรรีบพบแพทย์ทันที
- รับประทานในปริมาณที่พอเหมาะและมีประโยชน์ คุณแม่ตั้งครรภ์แฝดควรได้รับอาหารที่มีประโยชน์ ทั้งอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ผักผลไม้สด นมและแคลเซียม ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้นเพราะร่างกายต้องการสารอาหารจำพวกแร่ธาตุและวิตามินโดยเฉพาะธาตุเหล็กที่มากกว่าปกติ และควรเว้นอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลเพราะจะทำให้อ้วนเกินไป
- ควรฝากครรภ์กับสูตินรีแพทย์เฉพาะทางด้านมารดาและทารกในครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์แฝดควรอยู่ในความดูแลโดย สูตินรีแพทย์เฉพาะทางด้านมารดาและทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ เพื่อได้รับการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงอย่างเข้มงวด เช่น ครรภ์เป็นพิษ การคลอดก่อนกำหนด และให้การดูแลตั้งแต่การตั้งครรภ์ไปจนถึงกระบวนการคลอดบุตรอย่างปลอดภัย
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ ดังนี้
สนใจติดต่อ : Deep & Harmonicare IVF Center ศูนย์ปรึกษาการตั้งครรภ์ และ รักษาภาวะมีบุตรยาก
สอบถามการรักษามีลูกยาก : LINE : @dhcivf.th
ติดตามข่าวความรู้เรื่องรักษามีบุตรยาก ได้ที่
FACEBOOK : Deep & Harmonicare IVF Center
ติดต่อเรา : 093-7891313